1.ความดันโลหิต คืออะไร
ในความจริง เรื่องของความดันโลหิตนั้นมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือความดันโลหิตสูงและคยวามดันโลหิตต่ำ แต่ที่ได้มาแนนะนำความดันโลหิตสูง แล้วความดันโลหิตสูงคือความดันหรือแรงดันที่อยู่ในหลอดเลือดแดงของเรา เหมือนเวลารดน้ำต้นไม้ด้วยสายยางรดน้ำก็จะมีแรงดันอยู่ภายในสายยาง ซึ่งในภาวะที่มีความดันหรือแรงดันในสายยางสูงมากๆ ถ้าในคนก็คือ ความดันโลหิตสูงนั่นเอง2.ทำไมถึงมีตัวบนตัวล่าง
เวลาไปที่โรงพยาบาลหรือวัดเองที่บ้านเราจะเห็น 2 ค่า โดยตัวบนเรียกว่า Systolic blood pressure คือความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และตัวล่างเรียกว่า Diastolic blood pressure คือความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวนั่นเอง
3.แล้วความดันโลหิตสูงจะเกิดอะไรขึ้น
ขอให้ลองเปรียบเทียบว่าเรามีแรงดันหรือความดันน้ำอัดอยู่กับสายยางตลอดเวลา แน่นอนว่าวันหนึ่งสายยางนั้นก็ต้องเสื่อมไป แต่อย่าลืมว่าอันนี้คือแค่สายยาง ในตัวของมนุษย์เรายังประกอบไปด้วย สมอง ไต ตา ฯลฯ ซึ่งถ้าหากความดันโลหิตสูงมากๆแล้วมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายตัวอย่างเช่น
– หัวใจ : เกิดได้ตั้งแต่ ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาทำให้เสี่ยงต่อหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย
– ไต : การเป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังได้
– สมอง : ทำให้สมองขาดเลือดจนเกิดการอ่อนแรงของแขนขาได้
– ตา : เกิดตาพร่ามัวจากการที่หลอดเลือดในตาหนาตัวได้
4.เกิดจากอะไร
โดยส่วนใหญ่แล้วความดันโลหิตสูงสามารถแบ่งได้คร่าวๆเป็นแบบ มีสาเหตุ กับ ไม่มีสาเหตุ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงมักจะอยู่ในกลุ่มไม่มีสาเหตุ ซึ่งอาจจะเกิดจาก เมื่อมีอายุที่สูงขึ้นความยืดหยุ่นของหลอดเลือดก็น้อยลงทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้นก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามในกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรเนื่องจากการรักษาสุดท้ายคือการลดความดันโลหิตเหมือนกัน
นอกจากนี้ในบางสภาวะเราก็อาจจะมีความดันโลหิตที่สูงได้โดยที่ไม่ได้มีความผิดปกติอะไร เช่น ตื่นเต้น เครียด การดื่มกาแฟ หรือการดื่มแอลกอฮอล์มาก่อนหน้าที่จะวัดความดันโลหิต จึงเป็นสาเหตุว่าเมื่อเวลาคุณจะมาวัดความดันจึงต้องให้นั่งในท่าที่สบายๆ ไม่เครียด ไม่โกรธ ไม่ดื่มกาแฟหรือแอลกอฮอล์มาก่อน
5.เมื่อไรจะบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
อิงตามสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ใน การรักษาความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป(ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2558 คือ มีภาวะระดับ Systolic blood pressure(SBP) ≥ 140 mmHg และหรือ Diastolic blood pressure(DBP) ≥ 90 mmHg
สืบเนื่องจากข้อ 4 ว่าเมื่อเกิดภาวะตื่นเต้นหรือเครียดอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นหากวัดได้ความดันโลหิตสูงจริง 1 ครั้ง ควรวัดอีกสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริง หรือแพทย์อาจแนะนำให้นำเครื่องวัดความดันมาวัดที่บ้านเอง
6.ทำไมวัดความดันโลหิตที่บ้านถึงต่ำแต่พอไปวัดที่โรงพยาบาลถึงสูง
หากเป็นเช่นนั้นจริงก็สามารถอธิบายได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นเพราะมีความเครียดเวลาอยู่ที่โรงพยาบาลแล้วมีคนรอบตัวเยอะ หรือเพิ่งเดินมาเหนื่อยๆยังไม่ทันได้พักแล้ววัดความดันโลหิตทันที หรือคุณอาจจะมีภาวะลวงของความดันโลหิตสูงนั่นคือ White-coat hypertension ซึ่งมักพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อยจนถึงความดันโลหิตสูงขั้นแรก ซึ่งหากอยู่ในกลุ่มนี้จริงก็สมควรได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและติดตามความดันโลหิตเป็นระยะๆ
7.ทุกคนต้องกินยาไหม
สำหรับคำตอบนี้ไม่มีคำตอบที่ตายตัว แต่แพทย์จะพิจารณาผู้ป่วยเป็นรายๆ ในผู้ป่วยบางรายที่เดิมแข็งแรงดี ผลเลือดทุกอย่างปกติ แพทย์อาจพิจารณาให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูก่อนก็เป็นได้ ดังนั้นหากท่านไม่อยากเริ่มยาแล้วก็แนะนำว่าควรหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองนะครับ
8.แนวทางการดูแลตนเองล่ะ ทำอย่างไร
– จำกัดการกินเค็ม กินเกลือโดยประมาณ 1 ช้อนชา/วัน หรือเท่ากับน้ำปลาประมาณ 4 ช้อนชา หรือซีอิ้ว 5 ช้อนชา ดังนั้นหากเป็นไปได้แนะให้ปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ฟลังงานสูง อาทิเช่น น้ำอัดลม กาแฟเย็น อาหารจำพวกทอด นอกจากนี้อาหารจำพวก ของหมัก ของดองก็มีความเค็ม เช่น เต้าหู้ยี้ หอยดอง
– แนะนำให้กินผัก ผลไม้สด ปลา ถั่ว ไขมันไม่อิ่มตัว ผลิตภัณฑ์รมที่มีไขมันต่ำ ลดการกินเนื้อแดง
– ควบคุมน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายเท่ากับ 18.5-22.9 กก./ตร.ม. และควบคุมให้เส้นรอบเอว ไม่เกิน 90 ซม. ในผู้ชาย และ 80 ซม. ในผู้หญิง
– แนะนำหยุดสูบบุหรี่ และหยุดดื่มแอลกอฮอล์
– แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง เป็นเวลา 5-7 วัน/สัปดาห์
9.แปลว่าถ้าหากแพทย์เริ่มยาแปลว่าเข้าขั้นแย่แล้วหรอ
นั่นขึ้นกับว่าคุณมีความเสี่ยงแค่ไหน และเริ่มยากี่ตัว ความดั้นโลหิตที่วัดได้มีค่าอยู่ที่เท่าไร ดังนั้นหากคุณเกิดภาวะความดันโลหิตสูงจริงก็ไม่ต้องกังวลครับ ขอเพียงหมั่นดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ รับประทานยาตามที่ได้รับ และที่สำคัญขอให้คิดในแง่ดี หรือคิดบวกเข้าไว้ ก็จะสามารถควบคุมให้ความดันโลหิตนั้นอยู่มนเกณฑ์ที่ปกติได้